วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประเพณี ทำบุญข้าว



ปรเพณีทำขวัญข้าว


 
  
       ตามความเชื่อที่ว่าแม่โพสพมีพระคุณจึงต้องทำขวัญข้าวเป็นการกล่าวขอขมาต่อต้นข้าวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับข้าว ทั้งเกิดตามะรรมชาติและจากการที่มนุษย์จะกระทำอะไรก็ตามกับต้นข้าว เช่น เกี่ยวข้าวอีกทั้งนี้เป็นการขอบคุณและเอวใจแม่โพสพที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ผืนนาและเพื่อขออภัยร่วมทั้งเรียกขวัญแม่โพสพเพื่อเป็นศิริมงคลด้วยความเชื่อที่ว่าแม่โพสพเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตพอข้าวตั้งทองจึงเชื่อว่าอยากทานอาหารเหมือนคนท้องชาวนาในชุมชนจึงทำพีธีทำขวัญเรียกแม่โพสพที่แปลงนาพร้อมกันโดยจัดนำอาหารคาวหวานมาเป็นเครื่องไหว้แม่โพสพ ความสำคัญก็คือเป็นพีธีกรรมสำคัญที่ชาวนาเชื่อว่าจะทำผลผลิตข้าวอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งเป็นการทำขวัญและกำลังใจของชาวนาประเพณีทำขวัญข้าวเป็นประเพณีไทยที่สืบทอดมาแต่โบราณ ซึ่งจะกระทำกันในช่วงที่ข้าวตั้งท้อง แต่เดิมจะอยู่ในราวกลางเดือน ๑๐ หรือ ประมาณเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ของทุกปี แต่อย่างไรก็ตามจะต้องกระทำให้เสร็จสิ้นก่อนวันขึ้น 3 ค่ำเดือน 3มีความเชื่อว่าถ้าได้ทำขวัญข้าว และถ้าพระแม่โพสพได้รับเครื่องสังเวยแล้ว ไม่ทำให้เมล็ดข้าวล้ม หนอน สัตว์ต่าง ๆ มากล้ำกราย ได้ผลผลิตอุดมสมบูรณ์ ตลอดจนถวายแก่พระสงฆ์เมื่อข้าวนาสุกดีแล้ว เมื่อนวดข้าวเสร็จก็จะกำหนดวันพฤหัสบดีหรือวันศุกร์นำข้าวขึ้นยุ้ง ชาวบ้านก็จะมาร่วมทำขวัญข้าว ร้องเพลงทำขวัญแม่โพสพประเพณีทำขวัญข้าว เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้กับชาวนาให้รู้ว่า การทำนาปลูกข้าวของตนนั้น จะไม่สูญเปล่า เพราะพระแม่โพสพเป็นผู้ดูแล และเมื่อมีการเกี่ยวข้าวก็จะมาช่วยกันเกี่ยวข้าว เป็นการสร้างความสมัครสมานสามัคคี และที่สุดคือการร่วมสนุกสนานเมื่อทุกคนเหนื่อยยากและประสบความสำเร็จด้วยดีเมื่อข้าวตั้งท้อง ชาวนาจะนำตาแหลวไปปักไว้ที่หัวนา และขอบูชาพระแม่โพสพ ให้รับเครื่องสังเวย อันประกอบด้วยกล้วย อ้อย ถั่ว งา ส้ม มัดแขวนไว้ กับตาแหลว และนำหมาก พลูจีบ ๑ คำ ใส่กรวยไว้หัวนา เมื่อถึงช่วงเกี่ยวข้าว ก็จะเอาหมาก พลูจีบ ๑ คำ บุหรี่มวน ๑ มวน ไปเชิญพระแม่โพสพ ผู้หญิงจะเกี่ยวข้าว ๑ กำ นำไปบูชาเป็นข้าวแม่โพสพในยุ้ง พร้อมผ้าแดง ผ้าขาว ขนาด ประเพณีทำขวัญข้าวของบางจังหวัด อาจมีประเพณีทำขวัญข้าว อยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ข้าวตั้งท้อง และช่วงข้าวพร้อมเกี่ยว โดยในแต่ละช่วงจะมีเครื่องเซ่นไม่เหมือนกัน เครื่องเซ่นของการทำขวัญข้าวตอนตั้งท้อง ด้วยความเชื่อที่ว่า แม่โพสพเป็นมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกัน พอข้าวตั้งท้อง จึงเชื่อว่าจะอยากทานอาหารเหมือนคนท้อง สิ่งที่ขาดไม่ได้ในเครื่องเซ่นช่วงดังกล่าวจึงเป็นของรสเปรี้ยว อ้อย น้ำมะพร้าว นอกเหนือจากหมาก พลู ธงกระดาษสีต่างๆ ผ้าแดง ผ้าขาว ใส่ลงในชะลอมเล็ก ๆ มีเส้นด้ายสีแดงและสีขาวเพื่อผูกเครื่องเซ่นเข้ากับต้นข้าว ดอกไม้ และด้วยความเชื่อว่าแม่โพสพเป็นผู้หญิง จึงต้องมีน้ำอบ น้ำหอมด้วย โดยคนที่ทำพิธีมักจะเป็นผู้หญิงเจ้าของที่นา แต่พิธีนี้ให้โอกาสผู้ชายทำได้แต่ไม่นิยม หลังจากมัดโยงเครื่องเซ่นกับต้นข้าวด้วยด้ายสีแดงและขาวเข้าด้วยกันแล้ว ผู้ทำพิธีจะพรมน้ำหอมแป้งร่ำต้นข้าว จากนั้นจึงจุดธูปปักลงบนที่นาพร้อมกล่าวคำขอขมาต่าง ๆ แล้วแต่ที่จะนึกได้ ส่วนมากก็จะเป็นการบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังจะทำ เช่น ขอให้มีรวงข้าวสวย มีข้าวเยอะๆ ให้ผลผลิตสูง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น